แม่โขงไอซีทีแคมป์ Mekong ICT Camp

การสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อองค์กรสื่อและองค์กรพัฒนาเอกชน ในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง 

Mekong ICT Camp

               

Mekong ICT Camp หรือการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อองค์กรสื่อและองค์กรพัฒนาเอกชนในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง เป็นค่ายอบรมนวัตกรรมเพื่อสังคมระดับอนุภูมิภาค  ลุ่มน้ำโขง (พม่า กัมพูชา ลาว ไทย เวียดนาม) มีเนื้อหาในด้าน เทคโนโลยี สารสนเทศ การสื่อสาร ด้วยการลงมือปฏิบัติ ทดลองสร้างและหาทางแก้ปัญหาในด้านต่างๆ เช่น สุขภาพ สิ่งแวดล้อม การมีส่วนร่วมทางการเมือง โครงสร้างพื้นฐานระดับชุมชน และความปลอดภัยสาธารณะ ด้วยเทคโนโลยีราคาไม่แพงที่หาได้ในท้องถิ่น   

Mekong ICT Camp แบ่งการเรียนรู้เป็น 3 สายหัวข้อ (track) เพื่อให้ผู้เข้าสัมมนาเลือกตามพื้นฐานงานของตนเอง วิทยากรมาจากทั้งในภูมิภาคแม่โขงและจากนอกภูมิภาค พร้อมทุนขนาดเล็กสำหรับพัฒนาโครงการต่อ สำหรับโครงการต้นแบบที่พัฒนาระหว่างอบรมและได้รับการคัดเลือก

Mekong ICT Camp  จะจัดขึ้นเป็นประจำทุกๆ 2 ปี โดยมูลนิธิกองทุนไทย ได้ริเริ่มจัดการสัมมนาขึ้นในปี 2008, 2010, 2013,2015 และในปีนี้ 2017 จะจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 5 ในระหว่างวันที่ 4-8 กันยายน 2560 ณ เมืองเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา

ความเป็นมา

มูลนิธิกองทุนไทยเห็นความสำคัญของการพัฒนาศักยภาพในด้านเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสารและการสื่อสารมีบทบาทสำคัญสำหรับสื่อและองค์กรพัฒนาเอกชนซึ่งทำงานอยู่ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง มูลนิธิฯ ได้ริเริ่มจัดงานแม่โขงไอซีทีแคมป์ขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 2550  ในปี พ.ศ. 2551 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์พัทยา จังหวัดชลบุรี จัดงานครั้งนั้น เป็นจุดเริ่มต้น    การสัมมนาฯ ที่ได้ัฒนาศักยภาพให้แก่บุคลากรในองค์กรพัฒนาเอกชนและสื่อทางเลือกในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ทำให้เกิดการใช้เทคโนโลยีข้อมูลข่าวสารและการสื่อสารเพื่อการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพและมีการขยายเครือข่ายความรู้และการทำงานด้านไอซีทีในประเทศต่างๆ ของอนุภูมิภาคนี้ขึ้น ได้แก่ กัมพูชา ลาว ไทย เมียนมาร์และเวียตนาม

วัตถุประสงค์ 
     
1.    เพื่อสร้างพื้นที่และการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้เข้าสัมมนาในแบบเพื่อนช่วยเพื่อนที่จะช่วยให้สามารถแลกเปลี่ยนความรู้และความชำนาญด้านไอซีทีร่วมกัน 
2.    เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างผู้เชี่ยวชาญด้านไอซีที องค์กรสื่อทางเลือก นักพัฒนาสังคมและนักกิจกรรมสามารถนำเอาไอซีทีไปใช้ประโยชน์ในงานพัฒนาสังคมได้   
3.    เพื่อสร้างเครือข่ายนักอบรมและนักการศึกษาด้านไอซีทีซึ่งสามารถเผยแพร่ความรู้ในภูมิภาคได้  
4.    เพื่อผลักดันให้เกิดกิจกรรมการเรียนรู้หลากหลายรูปแบบทั้งในระดับภูมิภาคและระดับประเทศ 
5.    เพื่อช่วยให้ผู้สัมมนาที่ทำงานด้านสื่อทางเลือกและนักพัฒนาสังคมในระดับรากหญ้าสามารถเพิ่มพูนทักษะในด้านการจัดการความรู้ ข้อมูลข่าวสาร การรณรงค์โดยใช้สื่อ อิเล็กทรอนิกส์ และความเข้าใจและการส่งเสริมแนวคิดการใช้โอเพ่นซอร์สและการมีส่วนร่วม 
6.    เพื่อขยายเครือข่ายของผู้ใช้โอเพ่นซอร์ส รวมถึงองค์กรสื่อทางเลือกและองค์กรพัฒนาสังคมในภูมิภาค 

รูปแบบการจัดสัมมนา 

การสัมมนาฯ จะมีรูปแบบการเรียนรู้ แบบการเข้าค่ายและพักอยู่ร่วมกันเป็นเวลา 5 วัน กิจกรรมจะประกอบด้วยการบรรยาย การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ โดยจะเน้นกระบวนการซึ่งจะช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่าผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคกับผู้เข้าสัมมนาที่ทำงานในระดับพื้นที่ที่ปฏิบัติงานด้านต่างๆ เช่น สื่อทางเลือก การจัดการภัยพิบัติ  สิ่งแวดล้อม สิทธิมนุษยชน สุขภาพ ฯลฯ และที่ทำงานในพื้นที่ชนบทขององค์กรประชาสังคม เพื่อให้ผู้เข้าสัมมนาฯ เกิดความเข้าใจและสามารถนำเทคโนโลยีไอซีทีและเนื้อหาสาระของเรื่องไปใช้ประโยชน์ในการทำงานของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

รูปแบบการจัดสัมมนา 

การสัมมนาฯ จะมีรูปแบบการเรียนรู้ แบบการเข้าค่ายและพักอยู่ร่วมกันเป็นเวลา 5 วัน กิจกรรมจะประกอบด้วยการบรรยาย การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ โดยจะเน้นกระบวนการซึ่งจะช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่าผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิคกับผู้เข้าสัมมนาที่ทำงานในระดับพื้นที่ที่ปฏิบัติงานด้านต่างๆ เช่นการจัดการภัยพิบัติ สื่อทางเลือกและที่ทำงานในพื้นที่ชนบทและองค์กรประชาสังคม เพื่อให้ผู้เข้าสัมมนาฯ เกิดความเข้าใจและสามารถนำเทคโนโลยีไอซีทีและเนื้อหาสาระของเรื่องไปใช้ประโยชน์ในการทำงานของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผู้เข้าร่วมการสัมมนา 

ผู้เข้าร่วมสัมมนาฯ จะต้องเป็นผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการใช้สื่อและมีประสบการณ์การเป็นผู้สื่อข่าว(สื่อในที่นี้จะหมายถึงสื่อทางเลือก) นักพัฒนา (โปรแกรมเมอร์) นักรณรงค์นโยบายสาธารณะ เจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการในโครงการด้านต่างๆ ขององค์กรภาคประชาสังคม/องค์กรพัฒนาเอกชน และข้าราชการระดับกลาง ที่มีความเชี่ยวชาญด้านใดด้านหนึ่งอย่างชัดเจน และผู้เข้าสัมมนาทั้งหมดสามารถใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต รวมทั้งมีความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษ 

ผู้เข้าร่วมเป็นผู้ปฏิบัติงานในระดับพื้นที่ในด้านต่างๆ เช่น สื่อทางเลือก ภัยพิบัติ สุขภาพ สิ่งแวดล้อม สิทธิมนุษยชน ประชาธิปไตย ฯลฯ และองค์กรพัฒนาเอกชนจากอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (พม่า กัมพูชา ลาว ไทย เวียดนาม) จำนวนประมาณ 60 คน โดยจะพิจารณาความหลากหลายของงานที่ทำที่นำเอาไอซีทีไปใช้และสมดุลหญิง-ชาย ในการสัมมนาฯ จะใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก 

ช่องทางสื่อสารกับเรา

 

ติดต่อ

พวงชมพู  รามเมือง

ผู้จัดการโครงการ

มูลนิธิกองทุนไทย
ที่อยู่ 2044/23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310
โทรศัพท์ : (02) 314 4112-3 มือถือ 0816429730 
Email : chomphu@tff.or.th, dsc@tff.or.th, skype: chomphu107

ข้าสู่เวบไซต์ แม่โขงไอซีทีแคมป์