//counter_visiter($_SERVER['REMOTE_ADDR']);?>
สำหรับน้องๆ 5 กลุ่มเยาวชน อาทิ กลุ่มเยาวชนรักษ์คลองบางสน โรงเรียนปะทิววิทยาคม จ.ชุมพร, กลุ่มเยาวชนฮักนะเชียงยืน โรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม จ.มหาสารคาม, กลุ่มเยาวชน MPW conservation Forest โรงเรียนแม่พริก จ.ลำปาง กลุ่มเยาวชนรักษ์สิ่งแวดล้อม โรงเรียนสันป่าไร่ จ.ตาก และ กลุ่มอนุรักษ์ป่าดอนหนองโจน จ.ร้อยเอ็ด ยังคงเดินหน้าเรียนรู้การทำหนังสั้นสารคดี เพื่อนำมาใช้ในการสื่อสารสะท้อนปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในชุมชน หวังให้ชาวบ้านและสังคมได้ตระหนักกับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น โดยได้ร่วมนำเสนอผลงานหนังสั้น 6 เรื่อง เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2557 ในงานนิทรรศการ ฉายหนัง “เล่าเรื่องเมืองเรา” ณ โรงแรมอมารี ดอนเมือง กรุงเทพ จัดโดยกลุ่ม Youg Fime และมูลนิธิสยามกัมมาจล
การฉายหนังสั้นสารคดีในครั้งนี้ เยาวชนที่มาร่วมงานได้ร่วมกันวิภาคผลงานของกันและกัน โดยมีผู้กำกับหนังชื่อดังอย่าง คุณปรัชญา ปิ่นแก้ว มาร่วมวิจารณ์หนังและช่วยให้คำแนะนำในฐานะผู้เชี่ยวชาญ และตั้งคำถามชวนคิดและให้เห็นแนวคิดของผู้สร้าง เพื่อให้เห็นความชัดเจนของการสื่อสาร ซึ่งน้องๆ เยาวชนสามารถนำไปปรับปรุงให้หนังสั้นสารคดีของกลุ่มตนเองสามารถสื่อสารเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างแท้จริง อาทิ สิ่งสำคัญสำหรับคนทำหนังต้องมีคืออินกับปัญหา รู้เข้าใจ มีข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลเป็น เพื่อกรองข้อมูลและจัดการข้อมูล ทำให้น่าสนใจ, วางเป้าหมายการเล่าเรื่องให้ชัดเจน, การสร้างความน่าสนใจของหนังผ่านการนำเสนอความรู้ใหม่ๆ ให้คนดู นำเสนอสิ่งที่คนอื่นยังไม่เคยมองเห็น เป็นต้น
“ภาพยนตร์ เป็นสิ่งที่ดีที่จะสื่อสารต่อคน แต่ต้องสังเกตและศึกษาให้เยอะจะเกิดประโยชน์ต่อพวกเรา เพราะมันคือ เครื่องมือในการสื่อสาร การศึกษาข้อมูลเยอะๆ เราจะเจอความมหัศจรรย์ที่จะทำให้คนเปลี่ยนความคิดได้ สำคัญต้องรู้จักมัน รู้จักใช้ ก็จะเกิดประโยชน์อย่างยิ่ง ทำให้เราเข้าใจต่อสถานการณ์สังคมได้ดี ช่วยสะท้อนมุมที่คนทั่วไปไม่เห็น หากให้ความหมายภาพยนตร์สารดี คือ นำสารคดีดีๆ ถ่ายทอดออกมาเป็นภาพยนตร์ โดยเราต้องแยกแยะข้อมูล สิ่งเก่า สิ่งใหม่ ทำให้เกิดประสบการณ์ใหม่ของคนดู” คำพูดทิ้งท้ายฝากถึงน้องๆ กลุ่มเยาวชน จากคุณปรัชญา ปิ่นแก้ว และอาจารย์ประจวบ ผลิตผลการพิมพ์ เองยังฝากให้กำลังใจถึงน้องๆ อีกว่า “ คำวิจารณ์ คือ คำปรารถนาดี ที่อยากให้เยาวชนสร้างภาพยนตร์ที่มีคุณค่า ช่วยสื่อสารรณรงค์ให้เกิดความเข้าใจของสังคม และเปลี่ยนแปลง มีตัวอย่างสื่อมากมายที่ช่วยรณรงค์สร้างการเปลี่ยนแปลงช่วยเหลือชีวิตคนในสังคม วงการนี้ต้องการพลังเยาวชนอีกมาก สิ่งสำคัญ คือ แรงบันดาลใจ ศึกษาให้ลึกซึ่งก็จะเกิดแรงผลักดัน สื่อมีพลัง เราไม่มีอำนาจ แต่เรามีสื่อให้ชาวบ้านคิด ช่วยกันศึกษา แล้วเราจะเกิดความอยากมีพลังทำงาน” การนำข้อคิดต่างๆ ไปพัฒนาช่วยเหลือดูแลสิ่งแวดล้อมสร้างการเปลี่ยนแปลงในชุมชน และสังคมต่อไป “เรียนรู้ ทำซ้ำ แล้วจะเกิดการเปลี่ยนแปลง” คำทิ้งท้ายจากพี่โต้ง มูลนิธิสยามกัมมาจลในฐานะผู้จัดงาน
นอกจากได้มีโอกาสร่วมวิภาคหนังและฟังข้อเสนอแนะดีๆ แล้ว กลุ่มเยาวชนยังได้ร่วมกันถอดบทเรียนจากการทำหนังร่วมกัน ทำให้เห็นถึงเหตุผล หรือเป้าหมายของการสร้างหนังครั้งนี้ ปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นระหว่างการทำงาน และการเรียนรู้ต่างๆ ที่เยาวชนแต่ละคนได้รับซึ่งช่วยพัฒนาให้พวกเขามีทักษะที่ดีขึ้น สุดท้ายคือ การนำสิ่งที่ได้เรียนรู้กลับไปพัฒนางานของตัวเองให้ดีขึ้นอีกด้วยค่ะ “มันมาจากประเด็นงานที่เรากำลังทำอยู่ และต้องการใช้สารคดี เพื่อสื่อสารงาน ให้คนในชุมชน หรือคนทั่วไปเข้าใจประเด็นปัญหา-สถานการณ์” กลุ่มฮักนะเชียงยืน จ.มหาสารคามเล่าถึงเหตุผลของการทำหนังสั้นสารคดีในครั้งนี้
ทั้งนี้หากน้องๆ กลุ่มอื่นๆ สนใจอยากดูหนังสั้นสารคดีของเพื่อนๆ สามารถติดตามได้ทาง www.facebook.com/PlookJaiRak เราจะนำหนังสั้นมาอัพเดทให้ได้ดูอย่างแน่นอน