หมวด : Activities

ประกาศรับสมัคร!!! ผู้เข้าร่วมโครงการ Thailand ICT Camp 2019: สัมนาเชิงปฏิบัติการที่จะเพิ่มความรู้ด้านเทคโนโลยีและดิจิทัลให้กับผู้ปฏิบัติงานด้านสื่อและองค์กรสาธารณประโยชน์

 

ประกาศรับสมัคร!!!!

 

มูลนิธิกองทุนไทย ร่วมกับ มูลนิธิเพื่ออินเตอร์เน็ตและวัฒนธรรมพลเมือง (Thainetizen) และ Social Technology Instituteขอเชิญผู้ที่ทำงานในองค์กรสื่อและองค์กรพัฒนาเอกชน สมัครเข้าร่วมการสัมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัลเพื่อองค์กรสื่อและองค์กรสาธารณประโยชน์ (1st Thailand ICT Camp 2019)

 

จากหลักสูตรของ Mekong ICT Camp (ICT มาจาก I – Innovation นวัตกรรม, C- Citizenship การมีส่วนร่วมของพลเมือง, T- Technology เทคโนโลยี) ที่จัดขึ้นโดยมูลนิธิกองทุนไทยเพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคลกรในองค์กรสื่อและองค์กรสาธารณประโยชน์ ในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงมาตั้งแต่ปี 2551 อย่างต่อเนื่องทุกๆ 2 ปี ตลอดระยะเวลา 10 ปี จนเป็นที่ยอมรับในระดับสากลว่า Mekong ICT Camp ไม่ได้เป็นแค่การสัมมนาแต่เป็นนวัตกรรมการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรที่ทำงานสายพัฒนาพัฒนาสังคมและสื่อ

 

มูลนิธิกองทุนไทย ร่วมกับ มูลนิธิเพื่ออินเตอร์เน็ตและวัฒนธรรมพลเมือง (Thainetizen) และ Social Technology Institute โดยการสนับสนุนของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มูลนิธิฟรีดริชเนามัน (ประเทศไทย) ได้นำหลักสูตรการสัมมนา Mekong ICT Camp( www.mekongict.org)  ที่จัดครั้งล่าสุดที่จังหวัดเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา มาจัดทำเป็นหลักสูตรภาษาไทย ในชื่อการการสัมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อองค์กรสื่อและองค์กรสาธารณประโยชน์ (1st Thailand ICT Camp 2019) เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ ในระดับสากลสู่ภาคประชาสังคมไทย

 

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อสร้างพื้นที่และการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้เข้าสัมมนาในแบบเพื่อนช่วยเพื่อน ที่จะช่วยให้สามารถแลกเปลี่ยนความรู้และความชำนาญด้านสื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัลร่วมกัน
  2. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีดิจิทัล องค์กรสื่อ นักพัฒนาสังคมและนักกิจกรรมสังคมสามารถนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัลไปใช้ประโยชน์ในงานพัฒนาสังคมได้ 
  3. เพื่อสร้างเครือข่ายนักอบรมและนักพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัลซึ่งสามารถเผยแพร่ความรู้ในประเทศได้
  4. เพื่อผลักดันให้เกิดกิจกรรมการเรียนรู้หลากหลายรูปแบบทั้งในระดับภูมิภาคและระดับประเทศ
  5. เพื่อช่วยให้ผู้สัมมนาที่ทำงานด้านสื่อ และนักพัฒนาสังคมในระดับรากหญ้าสามารถเพิ่มพูนทักษะภาคปฏิบัติในด้านการจัดการความรู้และข้อมูลข่าวสาร การรณรงค์โดยใช้สื่อดิจิทัล และความเข้าใจและการส่งเสริมแนวคิดการใช้โอเพ่นซอร์สและการมีส่วนร่วม (Craetive commons: CC)
  6. เพื่อขยายเครือข่ายของผู้ใช้โอเพ่นซอร์ส รวมไปถึงองค์กรสื่อและองค์กรพัฒนาสังคมในประเทศ

 

การสัมมนาฯ นี้เหมาะสำหรับ ผู้ที่ทำงานในองค์กรสื่อ องค์กรสาธารณะประโยชน์ในระดับปฏิบัติการ ในประเด็นต่าง รวมถึงนักศึกษาที่สนใจ จำนวน 60 ท่าน

วันเวลา วันที่ 13-15 พฤษภาคม 2562

สถานที่ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ค่ายพระราม 6 อ. ชะอำ จ. เพชรบุรี

หลักสูตรการสัมมนาฯ ครอบคลุมสาระสำคัญ 4 ประการดังนี้

1. การกำกับดูแลแบบเปิด (Open Governance)

2. เทคโนโลยีการเกษตร (Agriculture Technology)

3. เทคโนโลยีการศึกษา (Education Technology) และ

4. เทคโนโลยีเพื่อสุขภาพ (Health Technology)

 

 เนื้อหาการสัมมนาประกอบด้วย

 

1.       กระบวนการทำงานร่วมกัน เป็นเนื้อหาขั้นที่ผู้ร่วมสัมมนาจากทุกสายงานควรเรียนรู้ เช่น การออกแบบความคิด (Design Thinking)

 

2.       เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการบริการ เช่น อารยสถาปัตย์หรือการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล (Universal Design)

 

3.         ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy)

4.         มาตรฐานข้อมูล (Data Standard)  เช่น มาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลทั่วไป (Data Exchange Standards & Commons)

 

5.         การทำงานร่วมกับชุมชน (Working with Community)

6.         การรักษาความปลอดภัยของข้อมูล (Information Security)

 

รูปแบบการสัมมนา

 

การสัมมนาฯ จะมีรูปแบบการเรียนรู้ แบบการเข้าค่ายและพักอยู่ร่วมกันเป็นเวลา 3 วัน กิจกรรมจะประกอบด้วยการบรรยาย การลงมือปฎิบัติ โดยจะเน้นกระบวนการซึ่งจะช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่าผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิคกับผู้เข้าสัมมนาฯ

 

ผู้เข้าสัมมนาฯ สามารถเลือกเส้นทางการเรียนรู้ (Track) ข้อใดข้อหนึ่ง ตามประสบการณ์และพื้นฐานการทำงานของตนเอง ดังนี้

1. สิ่งแวดล้อมและทรัพยากร 

2. สุขภาพ

3. การมีส่วนร่วมของพลเมือง

 ภายในระยะเวลา 3  วันของการสัมมนาฯ ผู้เข้าสัมมนาจะได้ร่วมลงมือปฏิบัติจริงในเรื่อง

 

● การทำแผนที่ เช่น แผนที่ทำมือ และฐานข้อมูลของสารสนเทศแผนที่ (OpenStreetMap) สำหรับการทำแผนที่ชุมชน Mapping: hand-written mapping and OpenStreetMap for community mapping

● การจัดประชาพิจารณ์ เช่น สร้างกระบวนการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการกำหนดนโยบายในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ Organizing public hearing: creating process to encourage community participation in policy making at local and national level

● การเล่าเรื่องด้วยข้อมูล Storytelling with data

● การระดมทุนด้วยเครื่องมือออนไลน์ Fundraising with online tools

● การสร้างและบำรุงรักษาเครื่องส่งสัญญาณวิทยุชุมชน Building and Maintaining Community Radio Transmitter

งานวิจัย เรียนรู้จากโครงการต่างๆ

● การจัดทำข้อมูลเพื่อสนับสนุนการเคลื่อนไหวทางสังคม (social movement) Documentation for Evidence-Based Advocacy

● การตระหนักถึงความเป็นส่วนตัว Public awareness of privacy

● ข้อมูลแบบเปิดสำหรับการมีส่วนร่วมของพลเมือง Open data for civic participation

 

ท่านสามารถติดตามรายละเอียดการจัดงานได้ที่ Facebook page: Thailand ICT Camp

และสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ E-mail: thictcamp@tff.or.th

****สมัครออนไลน์ได้ที่ https://goo.gl/forms/uaj39DsSaCagipgZ2 หรือ สแกนบาร์โค้ดด้านล่าง

*** สมัครได้ตั้งแต่วันนี้ถึง 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

*** ประกาศรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือก วันที่ 15 มีนาคม 2562 (แจ้งทางอีเมล์)

*** ผู้ที่ได้รับเลือกเข้าร่วมกิจกรรมจะได้รับการสนับสนุนค่าลงทะเบียน ค่าเดินทาง ที่พักและอาหาร ฟรี!!! ตลอดการสัมมนาฯ

 

 

 

 


 


27/Nov/2018